ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
-รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
-พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
-การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้ 6 รูปแบบ ดังต่อไปนี้ คือ
1. เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเช่น ดาวเทียม ถ่ายภาพทางอากาศ กล้องดิจิทัล กล้องถ่ายรูป
วีดิทัศน์ เครื่องเอกซเรย์
2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล
เป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น เทปแม่เหล็ก,จานแม่เหล็ก,จานแสงหรือจานเลเซอร์,บัตรเอทีเอ็ม
3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และ
ซอฟต์แวร์
4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์,จอภาพ,พลอตเตอร์ ฯลฯ
5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร,เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
6. เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่างๆ เช่น โทรเลข,เท
เล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะไกลและระยะใกล้
ตัวอย่างการใข้เทคโนโลยีสารสนเทศ
มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในระบบต่างๆ ทั้งในทางธุรกิจ และทางการศึกษาดังตัวอย่าง
เช่น -ระบบเอทีเอ็ม
-การบริหารและการทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ต
-การลงทะเบียนเรียน
พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร
การแสดงออกทางความคิดและความรู้สึกในการใช้รูปแบบของเทคโนโลยีทุกประเภท ที่นำมาประยุกต์
ใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้างและเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ภาพ ข้อความ
ตัวเลขและภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น
การใช้อินเตอร์เน็ต
งานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา พบว่า
นักศึกษาส่วนใหญ่ส่วนใหญ่ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อความบันเทิง เนื่องจากเห็นว่ามีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น
ในขณะที่การใช้อินเตอร์เน็ตของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา
ใช้อินเตอร์เน็ต ทำอะไรได้บ้าง?
งานวิจัยชี้ว่า นักศึกษาใช้อินเตแอร์เน็ตในการสนทนากับเพื่อนๆ และการค้นข้อมูลจากห้องสมุด
พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
นอกจากนี้งานวิจัยยังชี้ว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประกอบการทำ
รายงาน
สถานที่ที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
งานวิจัยพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้าน และมีการใช้อินเตอรืเน็ตที่ห้องสมุดของสถาบัน
พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการใช้หรือมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศน้อย ในรูปแบบไหนบ้าง?
งานวิจัยชี้ว่า นักศึกษามีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านี้น้อย ได้แก่ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ
e-Learning วิดีทัศน์ตามอัธยาศัย (video on Demand) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
-การเรียนรู้แบบออนไลน์ (e-Learning)
- บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction - CAI)
-วิดีทัศน์ตามอัธยาศัย (Video on Demand - VOD)
-หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e- books)
-ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library)
การเรียนรู้แบบออนไลน์ (e-Learning)
เป็นการศึกษา เรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต (Internet) หรืออินทราเน็ต
(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่านเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) โดยผู้เรียน ผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติโดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย สำหรับทุกคน โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learning for all : anyone, anywhere and anytime)
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction - CAI)
คือบทเรียนคอมพิวเตอร์ซึ่งนำเสนอสารสนเทศที่ได้ผ่านกระบวนการสร้างและพิจารณามาเป็นอย่างดี โดยมีเนื้อหาวิชาหรือสารสนเทศ แบบฝึกหัด การทดสอบและการให้ข้อมูลป้อนกลับให้ผู้เรียนได้ตอบสนองต่อบทเรียนได้ตามระดับความสามารถของตนเอง เนื้อหาวิชาที่นำเสนอจะอยู่ในรูปมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย อักษร รูปภาพ เสียง และ/หรือ ทั้งภาพและเสียง ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการนำหลักการเบื้องต้นทางจิตวิทยาการเรียนรู้มาใช้ในการออกแบบโดยอาศัยพฤติกรรมการเรียนรู้ (Learning Behavior) ทฤษฎีการเสริมแรง (Reinforcement Theory) ทฤษฎีการวางเงื่อนไขปฏิบัติ (Operant Conditioning Theory) ซึ่งถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองและการเสริมแรงเป็นสิ่งสำคัญ โดยมีจุดมุ่งหมายนำผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งอาศัยการสอนที่มีการวางโปรแกรมไว้ล่วงหน้า เป็นการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและมีผลย้อนกลับทันทีและเรียนรู้ไปทีละขั้นตอนอย่างเหมาะสมตามความต้องการและความสามารถของตน
วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video on Demand - VOD)
คือ ระบบการเรียกดูภาพยนตร์ตามสั่งที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูภาพยนตร์หรือข้อมูลภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงได้ตามต้องการ ตามสโลแกนที่ว่า “To view what one wants, when one wants”. โดยสามารถใช้งานนี้ได้จากเครือข่ายสื่อสาร (Telecommunications Networks) ผู้ใช้งาน ซึ่งอยู่หน้าเครื่องลูกข่าย (Video Client) สามารถเรียกดูข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ทุกเมื่อตามต้องการและสามารถควบคุมข้อมูลวิดีโอนั้น ๆ โดยสามารถย้อนกลับ (Rewind) หรือกรอไปข้างหน้า (Forward) หรือหยุดชั่วคราว(pause)ได้เปรียบเสมือนการดูวิดีโอที่บ้านนั่นเองทั้งนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายไม่จำเป็นต้องดูข้อมูลเดียวกัน กล่าวคือสามารถดูภาพยนตร์เรื่องเดียวกัน หรือต่างกันก็ได้
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-books )
คือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถอ่านได้ทางอินเทอร์เน็ต โดยมีเครื่องมือที่จำเป็นในการอ่านหนังสือประเภทนี้คือ ฮาร์ดแวร์ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆ พร้อมทั้งติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้อ่านข้อความต่างๆ ตัวอย่างเช่น ออร์แกไนเซอร์แบบพกพา พีดีเอ เป็นต้น ส่วนการดึงข้อมูล e-books ซึ่งจะอยู่บนเว็บไซต์ที่ให้บริการทางด้านนี้มาอ่านก็จะใช้วิธีการดาวน์โหลดผ่านทางอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะไฟล์ของ e-books หากนักเขียนหรือสำนักพิมพ์ต้องการสร้าง e-books จะสามารถเลือกได้สี่รูปแบบ คือ Hyper Text Markup Language (HTML), Portable Document Format (PDF), Peanut Markup Language (PML) และ Extensive Markup Language (XML)
ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-library)
เป็นแหล่งความรู้ที่บันทึกข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและให้บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
คุณลักษณะที่สำคัญของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้ คือ
1. การจัดการทรัพยากรสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์
2. ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศโดยทางอิเล็กทรอนิกส์
3. บรรณารักษ์หรือบุคลากรของห้องสมุดสามารถแทรกการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับห้องสมุดได้ เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ได้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์
4. ความสามารถในการจัดเก็บ รวบรวมและนำส่งสารสนเทศสู่ผู้ใช้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์
วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู
วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู
(Information and Communication Technology for Teachers)
รหัส PC 54504 3(2-2-5)
คำอธิบายรายวิชา
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น ไมโครคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ก ระบบซอฟต์แวร์ การจัดการทรัพยากรสรสนเทศ เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิง ฝึกปฏิบัคิการ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ชั้นพื้นฐานและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
สารสนเทศ ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Information หมายถึง ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าสารสนเทศ เป็นความรู้และข่าวสารที่สำคัญที่มีมีลักษณะพิเศษ ทั้งในด้านการได้มาและประโยชน์ในการนำไปใช้ปฏิบัติ
สารสนเทศ มีความหมายตามที่ได้มีการให้คำจำกัดความที่ใกล้เคียงกัน ดังนี้
สารสนเทศ หมายถึงข้อมุลทั้งด้านปริมาณและด้านคุณภาพที่ประมวลจัดหมู่เปรียบเทียบ และวิเคราะห์แล้วสามารถนำมาใช้ได้ หรือนำมาประกอบการพิจารณาได้สะดวกกว่าและง่ายกว่า
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอที (IT)
เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความสำคัญต่อสังคมไทยปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ การประมวลผล และการแสดงผลสารสนเทศ
องค์ประกอบหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย องค์ประกอบ 2 ส่วน คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม
1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ จัดเป็นเทคโนโลยีหลักของเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน เนื่องจากคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งในด้านการบันทึก การจัดเก็บ การประมวลผล การแสดงผล และการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แบ่งเป็นเทคโนโลยีย่อยที่สำคัญได้ 2 ส่วน คือเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยีซอฟท์แวร์
1.1. เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ทุกชนิดที่ประกอบขึ้นเป็นตัวคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเพื่อเชื่อมโยงจำแแนกตามหน้าที่การทำงานออกเป็น 4 ส่วน คือ
(1)หน่อยรับข้อมูล
(2)หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู
(3)หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit)
(4)หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage Unit )
1.2 เทคโนโลยีซอฟท์แวร์ (Software)
หมายถึงโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ
ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1) ซอฟท์แวร์ระบบ (System Software)
หรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ทำงานตามคำสั่ง
2)ซอฟท์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
คือชุดคำสั่งที่ผู้ใช้ส่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ
2. เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม
หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันทั่วไป เช่น ระบบโทรทัศน์ ระบบดาวเทียม ระบบเครือข่ายเคเบิล และระบบสื่อสารอื่นๆ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
-แผนพัฒนาเศรษฐกิจ์และสังคมแห่งชาติแบับที่ 4 (2520-2524) การมีส่วนร่วมของสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร
-มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาขึ้น
-ในแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ก็ได้มีการเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามากขึ้น
-ในแผนฯ9มีการจัดทำแผนหลักเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา
แผนพัฒนาฯข้างต้นทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อวงการศึกษาของประเทศไทยมากขึ้น จะทำให้การศึกษาของชาติมีความเท่าเทียมทั่วถึง มีคุณภาพ และมีความต่อเนื่อง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการประยุกต์ใช้เทคโรโลยีสารสนเทศอย่างคุ้มค่า
พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกาา
* ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูล มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลของรายการประจำ(Transaction Processing) เพื่อลดค่าใช้จ่ายในด้านบุคลากร
* ยุคที่2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการ ติดตามผลและวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่างๆ
* ยุคที่3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่อยใานไปสู่ความสำเร็จ
* ยุคที่4 ยุคปัจจุบัน หรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการใช้คอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
1. ให้ความรู้ ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
2. ใช้ในการวางแผนและบริหารงาน
3. ใช้ประกอบการตัดสินใจ
4. ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณืที่จะเกิดขึ้น
5. เพื่อให้การบริหารผ่านระบบ
สรุป
การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในวงการศึกษามีปริมาณที่เพื่มมากขึ้น เนื่องจากการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศประเภทต่างๆ เช่น ดาวเทียมสื่อสาร ใยแก้วนำแสง อินเทอรืเน็ต ก่อให้เกิดระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการบริหารงานสำหรับการศึกษาด้านต่างๆ เช่น ระบบบริหารจัดการห้องสมุด และระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษายังช่วยให้เกิดการเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาและเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพในการศึกษาการเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาพัฒนาบุคลากรทางการศึกาาให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี
วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
assignment1
1. จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ตามความเข้าจัยของนักศึกษาเอง
- เทคโนโลยี(Technology)หมายถึง?
=> คือ สิ่งที่มีการพัฒนาให้ทันสมัยอยู่กับโลกปัจจุบันตลอดเวลา เช่น อุปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ ที่ทำให้มีความสะดวะสบายในการติดต่อสื่อสารกัน
- เทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology)หมายถึง?
=> คือ เครื่องมือต่างๆหรืออุปกรณ์ ที่ให้เราสืบค้นข้อมูลต่างๆได้และให้ความรู้แก่เรา เช่น อินเตอร์เน็ต ทีวี โทนศัพท์ ซึ่งช่วยให้เราได้รับรู้ข่าวสารต่างๆและก้าวทันต่อโลกปัจจุบันมากขึ้น
- เทคโนโลยีการสื่อสาร(Communication Technology)หมายถึง?
=> คือ เทคโนโลยี เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ต่างๆที่ทำให้มีการสื่อสารกันในหลายๆที่แม้จะเป็นที่ห่างไกลกัน็ทำให้สามารถติอต่อกันได้อย่างสะดวกสบาย เช่น โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต เป็นต้น
2. จงอธิบายความคาดหวังในวิชาเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครูว่านักศึกษาคาดว่าจะได้เรียนรู้อะไรบ้าง และนักศึกาาคาดว่าจะทำสิ่งใดบ้าง?
=>ฉันคาดว่าการเรียนวิชานี้จะได้เข้าใจในการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น ทั้งเรื่องทั่วไปและเรื่องที่ควรรู้ เช่น การส่งเมล์ หรือแม้กระทั่งการติดต่อสื่อสารกัน เพื่อจะได้ทันโลกสังคมปัจจุบัน และเพื่อความรู้ที่จะนำไปใช้ใน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)